ค้นหา
DI, RO, Distillated Water แบบไหนใช้เพื่อผสมน้ำยาหล่อเย็น (Coolant) ดีกว่ากัน
- veerakornforce
- 25 ก.ย. 2566
- ยาว 1 นาที

DI หรือ De-Ionized Water คือน้ำที่ผ่านกระบวนการถอดอิเล็กตรอน และโปรตรอนออกจากน้ำ เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยาทางไฟฟ้า หรือ สนิม ทำให้น้ำประเภทนี้เหมาะกับการใช้งานในอุตหสากรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า หรือ ต้องการนำไฟฟ้าต่ำ (EC หรือ Electric Conductivity) โดยค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ DI จะอยู่ที่ 0.5 - 1.0 mS/cm (มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร)
RO หรือ Reverse Osmosis คือ น้ำที่นำมาผ่านกระบวนการกรองขนาด 0.0001 ไมครอน หรือที่เรียกว่า เมมเบรน (Membrane) เพื่อกรองตะกอนแขวนลอยที่ผสมอยู่ในน้ำออกไป เช่น ผง หิน กรวด เกลือ แร่ธาตุ เชื้อรา แบคทีเรีย โดยจะเป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์ แต่ยังคงมีค่านำไฟฟ้า Electric Conductivity (EC) มากกว่าน้ำ DI ประมาณ 10 - 20 mS/cm (มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร) จะมีความบริสุทธิ์น้อยกว่า แต่ถูกใช้งานแผ่หลายกว่า เช่น การทำโรงงานน้ำดื่ม โรงงานผลิตอาหาร หม้อไอน้ำ หรือการผลิตสินค้า
Distillated Water คือ น้ำที่ใช้การควบแน่นของไอน้ำที่เกิดจากการต้มน้ำ เพื่อลดการปะปนของเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำ ซึ่งค่าการนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) อยู่ที่ประมาณ 1-3 mS/cm (มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร)
น้ำแบบไหนเหมาะกับการใช้ผสมน้ำยาหล่อเย็นมากที่สุด
แน่นอนว่า น้ำทั้ง 3 ประเภท น้ำกลั่น (Distillated Water), RO (Reverse Osmosis) และน้ำปราศจากไอออน DI (De-ionized Water) สามารถใช้ในการผสมน้ำยาหล่อเย็นได้ทั้งหมด แต่เมื่อความบริสุทธิ์ของน้ำมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพของน้ำยาหล่อเย็น (Coolant) จะยิ่งดีขึ้นไป แต่ก็ตามมาด้วยราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย

コメント